บัณฑิตไทยจากเวทีโลก (The Unsung Heroes) ผู้สร้างโลกอุดมศึกษาไทยและโลก วิชาการไทย
การส่งนักเรียนไทยไปเรียนอุดมศึกษาตะวันตกซึ่งเป็นเวทีการศึกษาโลกก่อน ความรุ่งโรจน์ระหว่างประเทศของอเมริกา เริ่มในรัชกาลที่ 5 เพื่อสร้างคนไทยมาทำงาน แทนชาวยุโรป ข้อความต่อไปนี้ ผมคัดมาจากเอกสาร “ประวัติความเป็นมาของ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล” สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา
..................ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราชการส่งนักเรียนไทยจำนวน 206 คน ไปศึกษาในประเทศที่เป็นต้นแบบของ วิชาการแต่ละด้าน เช่น อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โดยเน้นให้ไปศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ และ วิชาตามที่นักเรียนถนัด เช่น วิชาทหารบก ทหารเรือ การทูต กฎหมาย แพทย์ และ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ในสมัยนี้ เริ่มมีการแบ่งนักเรียนทุนเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนตามความต้องการของกระทรวง นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนด้วยอย่างเป็นกิจลักษณะด้วย
..................ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ราชการ ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ จำนวน 304 คน ต่อมาเนื่องจากปัญหาทาง ฐานะทางการเงินการคลังของประเทศในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 1 กรรมการองคมนตรีและสภาการคลัง จึงได้ลงมติในปี พ.ศ. 2465 ให้งดส่ง นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นการชั่วคราว ยกเว้นทุนเล่าเรียน หลวงที่ยังคงให้มีการจัดส่งต่อไป
..................ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ราชการได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือก การดูแลจัดการศึกษาของนักเรียน ทุนรัฐบาลให้เป็นระบบและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีคณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.ร.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบคัดเลือก จัดการดูแลการ ศึกษาของนักเรียนทุนหลวงฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ และต่อมาในปี 2476 ก็ เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบแทน ในช่วง หลังนี้ ได้มีการพักการให้ทุนเล่าเรียนหลวงไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
..................ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ราชการ ได้จัดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นมาอีกครั้งในปี 2507
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาเป็นประเทศชนะสงคราม โดดเด่นทางการ เมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เกิดกระบวนการ Americanization ถนนทุกสายมุ่ง สู่อเมริกา (All roads lead to Washington) ด้วยทุนของเมริกาเพื่อการสร้างคนทั้งการ อบรมและการศึกษา เงินให้เปล่า เงินกู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานกายภาพ ระบบทหารการปกครอง-ราชการ-เกษตร-สาธารณสุข-การศึกษาไทย เปลี่ยนจากกระบวนทัศน์ยุโรปสู่ กระบวนทัศน์อเมริกา เวทีการศึกษาโลกเปลี่ยนจากยุโรปเป็นอเมริกา
บัณฑิตไทยจากยุโรปและอเมริกาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยมาก นับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 และเข้มข้นมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งด้านการเกษตร อาทิเช่น สร้างโรงเรียนประถมกสิกรรม กรมช่างไหม สถานีทดลองพันธุ์ข้าว การทดลอง เกษตรแนวใหม่ วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การวิจัยด้านข้าว ในกระบวนการปฏิวัติเขียวหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตข้าว เพียงพอและส่งออกได้เป็นลำดับแรกของโลก มีการพัฒนาพืชเศรษฐกิจเช่นข้าวโพด เกิดอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การผลิตสัตว์ การส่งออกไก่ กุ้ง หมู แปรรูปมูลค่านับ แสนล้านบาทต่อปีภายในสี่ถึงห้าทศวรรษต่อมา
ด้านอุตสาหกรรม เริ่มการผลิตของใช้ที่เดิมเป็นยุทธปัจจัยและขาดแคลนหลัง สงครามโลกผลิตเช่นแอมโมเนียสารส้มเพื่อใช้ทำน้ำประปากรดกำมะถันกระดาษ แบตเตอร์รี่ด้านอุตสาหกรรมอาหารโดยเริ่มจากการผลิตอาหารกระป๋องสำหรับการดำรงชีพ ของทหารในสนามรบและชีวิตในภาคสนาม(combatration)จนเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม สับปะรดกระป๋องเติบโตมาเป็นอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่านับแสนล้าน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงช่วงสงครามโลก ครั้งที่สองและหลังสงครามทั้งการสร้างความเข้มแข็งของการผลิตแพทย์ในมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์การเริ่มงานวิจัยด้านการแพทย์อนามัยแม่และเด็กสาธารณสุขระบบ สุขภาพจนภายในหนึ่งชั่วอายุคนประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์ในภูมิภาคจน ประเทศไทยตั้งความหวังว่าจะเป็นMedicalHubในยุคโลกาภิวัตน์การวิจัยทำให้ไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยเวชศาสตร์เขตร้อนอนามัยแม่และเด็กรวมทั้งโภชนาการดีขึ้นเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศพัฒนาด้วยกันเป็นแบบอย่างให้กับประเทศ กำลังพัฒนาจนถึงมีระบบบริการสุขภาพ(universalhealthcoverage)ในทศวรรษ2540
ด้านการศึกษาและอุดมศึกษา บัณฑิตไทยจากยุโรปออสเตรเลียนิวซีแลนด์อเมริกา คานาดาและญี่ปุ่นพยายามริเริ่มการศึกษามหาวิทยาลัยใหม่ในระบบresidentialcollege เช่นมหาวิทยาลัยยุคโบราณของยุโรปหรือวิทยาลัยลิเบอรัลอาร์ต-วิทยาลัยศิลปะและ วิทยาศาสตร์(liberalartcollege)ในอเมริกาแต่การจัดการศึกษาแนวศิลปะและ วิทยาศาสตร์และระบบresidentialcollegeในทศวรรษ2500ไม่ประสพผลสำเร็จ เพราะความไม่พร้อมทางมโนทัศน์ของชาวอุดมศึกษาที่จะเปลี่ยนอุดมศึกษาเชิงวิชาชีพ (Professionalization)ไปสร้างอุดมศึกษาฐานศิลปะและวิทยาศาสตร์
บัณฑิตไทยจากเวทีอุดมศึกษาต่างประเทศรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นพลัง ก่อสร้างมหาวิทยาลัยภูมิภาค (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ในทศวรรษ 2500 เป็นกำลังเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยเฉพาะ (specialized/ professional university) ไปเป็นมหาวิทยาลัยเต็มรูป- comprehensive university (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร) ช่วย ยกระดับสถาบันอุดมศึกษาระดับวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย คือ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตรไปเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ช่วยยกระดับวิทยาลัยเทคนิคไปเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคือ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัย โทรคมนาคม นนทบุรีและวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารไปเป็นมหาวิทยาลัย/ สถาบัน พระจอมเกล้าพระนครเหนือ พระจอมเกล้าธนบุรี และพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
นอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว บัณฑิตไทยจากเวทีอุดมศึกษาโลกยังได้สร้างสถาบัน วิชาการและสถาบันวิจัย โครงสร้างสนับสนุนการวิจัย และหน่วยงานเพื่อการวิจัยและ บริการเฉพาะรูปแบบใหม่ ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (2506) ตามด้วยศูนย์แห่งชาติสามศูนย์ (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ) ในช่วงหลังทศวรรษ 2520 ก่อนจัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี- สวทช. ในปี 2534 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย- สกว. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข- สวรส. สามหน่วยงานหลังเป็นองค์กรในกำกับรุ่นแรกของรัฐบาล ที่มีพระราชบัญญัติรองรับ เป็นต้นแบบขององค์กรในกำกับที่มีพระราชบัญญัติรองรับ และองค์กรมหาชนจำนวนนับสิบแห่งที่มีพระราชกฤษฎีการองรับที่เกิดตามมาในทศวรรษ 2540 และ 2550 ผู้จัดตั้งและผู้บริหารรุ่นแรกของสถาบันและองค์กรเหล่านี้ส่วนมากเป็น นักเรียนทุนรัฐบาลไทยบัณฑิตไทยจากเวทีโลกรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญใน การสร้างสถาบันอุดมศึกษาไทยนับแต่ทศวรรษ 2500 นับจากนั้นประมาณสามทศวรรษ ถึงจุดที่โลกเปลี่ยนแปลงจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การเกิดของเทคโนโลยี สารสนเทศ ตามที่กล่าวแล้ว ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมโลก (entry point) เต็มที่ พร้อม กับการเปลี่ยนแปลงในเอเซียตะวันออกและสภาพโลกาภิวัตน์ในทศวรรษ 2530 บัณฑิตไทย จากเวทีโลกรุ่นแรกๆ นี้ ทำสถาบันอุดมศึกษาไทยเปิดกว้างขึ้น สร้างงานวิจัยใน มหาวิทยาลัย สร้างโปรแกรมบัณฑิตศึกษา เปิดรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะจาก ประเทศภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion- GMS) ในสภาพการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบที่เข้มข้น ประกอบกับสภาพอุดมศึกษาพาณิชย์ ที่เกลื่อนกลาดในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาไทยถูกตั้งคำถามที่ยากหลายประเด็น ทั้งเรื่องความคุ้มค่าของการอุดหนุนอุดมศึกษาด้วยเงินภาษีอากรจากผู้เสียภาษีไทย ในสภาพที่ประเทศต้องการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษาระดับที่ให้ผลตอบแทนทางสังคมดี กว่าเช่นการศึกษาพื้นฐาน หรือระดับอาชีวศึกษาที่ประเทศต้องการ สังคมถามถึงผล ประโยชน์ตอบแทนจากอุดมศึกษา สังคมต้องใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การรักษาพยาบาล สังคมถามถึงคุณภาพของบัณฑิต การช่วยสร้างความสามารถใน การแข่งขัน งานวิจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม จนถึงคำถามของสังคมที่ว่า ต่างประเทศยอมรับคุณภาพอุดมศึกษาไทยหรือไม่ ที่อาจสะท้อนผ่านการมีนักศึกษา ต่างชาติเข้ามาศึกษาในสถาบันอุดม ศึกษาไทย ไม่มียุคสมัยใดที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องตอบคำถามจากสังคมมากเช่นนี้ ทั้งนี้ สังคมวิชาการตะวันตกได้ผ่านสภาพนี้เช่นกัน ดังตัวอย่างเรื่องพันธะสัญญาใหม่ต่อสังคม ของวิทยาศาสตร์ (New Social Contract for Science) ที่จะกล่าวต่อไป
Categories
Hashtags