ตอนที่ 4 : พันธะสัญญาใหม่ต่อสังคมของอุดมศึกษา
Published: 3 August 2022
5 views

Photo by lilartsy on Unsplash

พันธะสัญญาใหม่ต่อสังคมของอุดมศึกษา

(New Social Contrat for Higher Education)

Jean-Jacques Rousseau เป็นนักปรัชญาที่เสนอแนวคิดพันธะสัญญาต่อสังคม (Social Contract) ประมาณสองร้อยห้าสิบปีมาแล้ว หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Vannevar Bush ชาวอเมริกันซึ่งเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ที่โดดเด่น เป็นศาสตราจารย์ที่ Massachusetts Institute of Technology ได้เสนอแนวคิดว่าประเทศอเมริกาควรตอบแทนบทบาท และความดีของวิทยาศาสตร์ ประเทศอเมริกาควรมีพันธะสัญญาสังคมต่อวิทยาศาสตร์ (Social Contract for Science)  

Vannevar Bush เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับสูงในวงวิชาการ มีส่วนร่วมใน Manhattan Project สร้างระเบิดปรมาณู ร่วมก่อตั้ง National Science Foundation และองค์กร National Advisory Committee on Aeronautics- NACA ที่พัฒนาเป็นองค์กร NASA ในลำดับ ต่อมา Bush มีบทบาทหลักในโครงการสำคัญ เช่น โครงการ ENIAC- Electronic Numerical Integrator and Computer เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์เครื่องแรก ของโลก พัฒนาโดยกองทัพบกสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2485 ช่วงระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อใช้ในการคำนวณวิถีการโจมตีของอาวุธในแบบต่างๆ โครงการ MEMEX (memory+extension) ซึ่งเป็นระบบไฮเปอเทกซ์โปรโตไทปแบบเชิงกล เทียบได้กับระบบ World Wide Web ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

แนวคิดของ Bush เรื่องพันธะสัญญาสังคมต่อวิทยาศาสตร์ (Social Contract for Science) อยู่บนฐานที่ว่า สังคมจึงควรตอบแทนบทบาทความดีของวิทยาศาสตร์ เพราะ วิทยาศาสตร์ (ผ่านการวิจัยและสร้างระเบิดปรมาณู เรดาร์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น) ทำให้ อเมริกา (และยุโรป) ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยาศาสตร์ได้ผลักดันพรมแดนความรู้ให้ สิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ขอให้มีความเชื่อว่าถ้าสังคมอเมริกาสนับสนุนวิทยาศาสตร์ ให้มากแล้ววิทยาศาสตร์จะสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคง และเกิดสุขภาพที่ดีให้คน อเมริกา ทั้งนี้สังคมควรให้นักวิทยาศาสตร์ดูแลกันเอง (peer review and assessment) วิทยาศาสตร์จะสร้างสิ่งดีให้อเมริกาจากแนวคิดพันธะสัญญาของสังคมต่อวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์อเมริกาเข้าสู่ยุคทอง เกิดวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ราคาแพง (Big Science) ตั้งแต่ทศวรรษ 2490 มาเกือบสี่สิบปี

ยุคทองของวิทยาศาสตร์อเมริกา เกิดพร้อมกับอุตสาหกรรมทหารและสงครามที่ รองรับการแข่งขันทางทหารระหว่างอเมริกาและสหภาพโซเวียต การขยายตัวของอาวุธ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ อุตสาหกรรมทหารและสงคราม กระตุ้นความเติบโตและการใช้ จ่ายเงินเพื่อวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยยะสำคัญในยุคทองของวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม ทหารและสงคราม มีโครงการขนาดใหญ่มูลค่านับหมื่นล้านแสนล้านดอลล่าร์ อาทิเช่น ดาวเทียมและการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ ตามด้วยการสำรวจอวกาศ โครงการวิจัยฟิสิกส์ อนุภาคที่มีการลงทุนสร้างเครื่องเร่งอนุภาค โครงการวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ โครงการพัฒนา เครื่องบินโดยสารที่มีความเร็วสูงกว่าเสียง จนถึงการเริ่มโครงการ Human Genome ที่เป็น โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน แต่มีเหตุผลรองรับทางการทหารเกี่ยวกับความเข้าใจ รหัสพันธุกรรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงจากรังสีในกรณีสงครามนิวเคลียร์

นักวิชาการไทยรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองช่วงทศวรรษ 2490- 2510 ที่ไปเรียน ในอเมริกาและยุโรปเติบโตมากับวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ และพันธะสัญญาสังคมต่อ วิทยาศาสตร์ กลับมาประเทศไทยเป็นผู้สร้างมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่และองค์กรวิทยาศาสตร์ใหม่ หวังว่าสังคมไทยประชาธิปไตยจะมีพันธะสัญญาของสังคมต่อวิทยาศาสตร์เช่นอเมริกา ก็เป็นมโนทัศน์ที่ทำให้นักวิชาการไทยรุ่นนี้ผิดหวัง

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2520 อเมริกาและยุโรปเชื่อว่ายังเป็นมหาอำนาจทาง วิทยาศาสตร์รวมทั้งอุดมศึกษา ด้วยตัวชี้วัดจากการตีพิมพ์บทความวิจัยนักวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบล นักเรียนต่างชาติในมหาวิทยาลัยอเมริกาและยุโรป แต่อเมริกาและ ยุโรปพบว่าญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำทางสินค้าบริโภคใหม่ทั้งรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าญี่ปุ่นผลักสินค้าอเมริกาและยุโรปออกจากตลาด บริษัทยักษ์ใหญ่ ทางรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอเมริกาและยุโรปปิดตัว ญี่ปุ่นเป็นผู้นำด้านระบบการผลิต อัตโนมัติ การควบคุมคุณภาพ สินค้าผู้บริโภคที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Walkman, Karaoke, Tamagotchi ไม่ได้ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ลึกซึ้ง กระบวนทัศน์ ที่เคยเชื่อว่า ต้นน้ำคือวิทยาศาสตร์ กลางน้ำคือเทคโนโลยี ปลายน้ำคือสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ติดตลาด ต้องมีการทบทวน ตัวอย่างความสำเร็จของญี่ปุ่นที่เริ่มที่ปลายน้ำและกลางน้ำ ไปพร้อมกัน แล้วจึงขึ้นต้นน้ำ

สังคมอเมริกาและยุโรปเริ่มมีคำถามในทศวรรษ 2520 ว่า ความเป็นเลิศทาง วิทยาศาสตร์และอุดมศึกษานำไปสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การแข่งขันได้ทางเศรษฐกิจ จริงหรือไม่ สังคมมีความเห็นว่าวิทยาศาสตร์ยุคทองราคาแพงไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ ไม่นำไปสู่การสร้างงาน ไม่เกิดความสามารถเชิงเปรียบเทียบ นักการเมืองจึงลดความ ตื่นเต้นไปกับวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ราคาแพง การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ ลดลง นอกจากวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสงครามและการทหาร ยังคงอยู่

จนถึงทศวรรษ 2540 ประเทศเอเซียตะวันออกคือ เกาหลี ไต้หวัน เดินตามของ ญี่ปุ่นสองทศวรรษก่อนหน้านั้น ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างใหม่ท่วมท้นเข้าตลาดโลกอีก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น คอมพิวเตอร์พกพา โทรทัศน์จอแบน สมาร์ทโฟน จนถึงสินค้าเทคโนโลยีสูง เช่น วงจรรวม จอแอลซีดี ระบบฮาร์ดดิสก์ ทั้งเกาหลีและไต้หวัน สองประเทศนี้ ไม่มีวิทยาศาสตร์ขนาดยักษ์ราคาแพงต้นน้ำ แต่มีเทคโนโลยีและการผลิต ที่ล้ำหน้าราคาแพงกลางน้ำและปลายน้ำ

มีสิ่งที่น่าเปรียบเทียบระหว่างสังคมประชาธิปไตยตะวันตกที่มีผู้นำจากกระบวนการ ทางประชาธิปไตยกับสังคมประเทศเอเซียตะวันออกที่มีผู้นำแนวเผด็จการ มีพันธะ สังคมที่มีจุดเน้นต่างกันต่อวิทยาศาสตร์-ต้นน้ำ เทคโนโลยี-กลางน้ำ การผลิตและการค้าปลายน้ำ สังคมตะวันตกใช้โมเดลเชิงเส้น (Linear Model) ของการพัฒนาจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำ และปลายน้ำ ขณะที่สังคมเอเซียตะวันออกเริ่มจากปลายน้ำ ไปสู่ต้นน้ำ โมเดลเอเซียตะวันออก นี้สะสมความมั่งคั่ง สร้างความเชื่อมั่นของสาธารณะต่อผลลัพธ์ผลิตทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ก่อนการสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน (อายุ 15 ปี) ใน โครงการ PISA และ TIMMS ขององค์กร OECD แสดงว่านักเรียนในประเทศเอเซียตะวันออก รวมทั้งจีนเซี่ยงไฮ้ มีความสามารถสูงกว่านักเรียนวัยเดียวกันในประเทศมหาอำนาจ วิทยาศาสตร์และอุดมศึกษา ซึ่งสั่นสะเทือนความมั่นใจของอเมริกาและยุโรป ว่าจีนและ เอเซียตะวันออกมีโอกาสสูงที่จะนำอเมริกาและยุโรปในอนาคต PISA และ TIMMS เป็น ดัชนีแสดงความสามารถของคนแต่ละประเทศในอนาคต มีผู้กล่าวว่ารางวัลโนเบลเป็น ตัวชี้วัดความสามารถอดีตของคน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจะเป็นผู้ที่ทำงานวิจัยมาแล้วหลายทศวรรษ ผู้ได้รับรางวัลเป็นผู้สูงอายุ ขณะที่คะแนน PISA และ TIMMS เป็นดัชนีชี้ศักยภาพ ของผู้ที่จะได้รับรางวัลโนเบลในอนาคต แสดงศักยภาพของคนที่ยังอยู่ในวัยการศึกษา

แนวคิดพันธะสัญญาสังคมใหม่ต่อวิทยาศาสตร์ (New Social Contract for Science) เกิดในทศวรรษ 2550 ตามประสบการณ์ของอเมริกายุโรป ด้วยความตระหนัก ว่านักวิทยาศาสตร์ (และนักวิชาการ) จะต้องสำนึกว่านักวิชาการไม่สามารถคิดเอาเองได้ ว่า สังคมจะเข้าใจหรือเห็นคุณค่า สนับสนุนวิทยาศาสตร์อย่างอัตโนมัติไม่มีเงื่อนไข ที่ ทำให้เกิดวิทยาศาสตร์ยักษ์ราคาแพง ในความเห็นของผม นักวิชาการ (ในมหาวิทยาลัย) ไทยและนักวิจัยไทยต้องตระหนักในประเด็นต่อไปนี้

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ต้องตอบสนองความต้องการทางสังคม เศรษฐกิจ (คนดีขึ้น กินได้ ใช้ประโยชน์ได้ ขายได้/สร้างรายได้)ในความหมายกว้างคือ นักวิจัยมีภาพในใจของ การใช้ประโยชน์ (application oriented) ได้ แม้แต่งานวิชาการต้นน้ำ แต่มิใช่ว่านักวิชา การจะต้องทำวิจัยประยุกต์ (applied research) ทั้งหมด ตัวอย่างที่ผมยกมา เป็นงานวิจัยพื้นฐาน (ทางชีวเคมี สรียวิทยา กายวิภาคศาสตร์ ของสัตว์ลำตัวเป็นข้อเป็นปล้อง (แอนโทรพอด- antropods) เช่น กุ้ง ปู เพื่อเข้าใจอิทธิพล ของสัญญานแสงที่เข้าสู่ตาแอนโทรพอด ว่าสัมพันธ์กับสัญญานฮอร์โมนการสืบพันธุ์และ ฮอร์โมนการเติบโตอย่างไร ถ้าสามารถบล็อก pathway ของสัญญาณฮอร์โมนได้ ก็จะควบคุม การเปลี่ยนเพศ ควบคุมการเติบโตได้พร้อมกัน เพราะแอนโทรพอดต้องลอกคราบที่แข็ง เพื่อให้ตัวโตขึ้นได้ แต่แอนโทรพอดตัวที่คราบแข็งกว่าจะกินตัวที่เปลือกยังอ่อน การจัดการเรื่องนี้ในระบบเพาะเลี้ยงปัจจุบัน ใช้การตัดตาของปูและกุ้ง ไม่ให้มีแสงเข้าตา หยุดฮอร์โมน บล็อก pathway ทำได้ช้าและประสิทธิภาพต่ำ รวมเป็นการทารุณสัตว์ และ จะเป็นปัญหาในการส่งขายตลาดต่างประเทศ เมื่องานวิจัยสำเร็จ อาจส่งผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพวกกุ้งและปู และอุตสาหกรรมอาหารทะเลมูลค่านับหมื่นล้านบาทต่อปี เกิดความต่อเนื่องจากการวิจัยต้นน้ำทาง วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนากลางน้ำทางการเพาะเลี้ยง จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ผมแสดงให้เห็นว่างานวิจัยพื้นฐานก็เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ มูลค่า (Value chain) ได้ นักวิชาการที่เก่งควรสร้างความสามารถในการมองภาพรวมเช่นนี้

งานวิชาการมีลักษณะสหวิทยาการหรือพหุวิทยาการเพิ่มขึ้น ต้องบูรณาการ ศาสตร์หลายสาขา ทำงานแบบเครือข่ายวิทยาศาสตร์อย่างเดียวหรือศาสตร์เดี่ยว จึงไม่ใช่ คำตอบ นอกจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้สังคมได้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (การวิจัย) จะเป็นที่พึ่ง นักวิชาการควรเข้าใจว่า จากความรู้วิชาการและต้นแบบ การสร้างความ แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและต้องผ่านกระบวนการผลิด กลไกค้าขาย การตลาด และจิตวิทยาสังคม ต้องมีนวัตกรรม จึงทำของที่ใช้ประโยชน์ได้ นักวิชาการจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด (มโนทัศน์) ต้องมี “พันธะสัญญาสังคมใหม่สำหรับ วิทยาศาสตร์ (New Social Contract for Science)” ในการนี้มหาวิทยาลัยไทยที่ยังใช้ ภาษีอากรของคนไทย จิตสำนึกนักวิชาการจะสำคัญ สะท้อนผ่านการวิจัยของบัณฑิต ศึกษาและงานวิจัยของนักวิชาการเอง งานวิจัยและบัณฑิตศึกษาจึงจะมีความหมายใน เวทีวิชาการไทยและโลก เวทีเศรษฐกิจโลก

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...