บทความนี้ สําหรับ Knowledge Workers ที่ยังมีคนจ้างให้ทํางาน
แต่ไม่มีความสุข
จากข้อสังเกต Knowledge Workers ส่วนใหญ่ที่ไม่มีความสุข
มักเป็นเรื่องทุกข์ใจที่เกิดจากคน เช่น...
ก. หัวหน้าไม่ดี
ข. เพื่อนร่วมงานไม่ดี
ค. ลูกค้าไม่ดี
หากเจาะลึกลงไป คนที่ทําให้ Knowledge Workers ส่วนใหญ่ทุกข์ใจจากงาน
คือ “หัวหน้า”
แต่ก็มีคนจํานวนหนึ่ง
ที่อยู่ภายใต้หัวหน้าคนเดียวกัน บริบทเดียวกัน
ได้รับการปฎิบัติ “แบบที่เราคิดว่าไม่ดี” เหมือนกัน
และพวกเขากลับดูไม่ทุกข์ใจมาก และทํางานได้ดีเสมอต้นเสมอปลาย
คนกลุ่มหลังนี้ พวกเขามีลักษณะอะไรคล้าย ๆ กันบ้าง
1. มีเป้าหมายชัดเจนว่าเขาต้องการอะไรในชีวิต ในระยะสั้น/กลาง/ยาว
2. เห็นว่าสิ่งที่เขาทําในวันนี้ ส่งผลดีต่อเป้าหมายในอนาคตอย่างไร
3. ยอมรับความแตกต่างของคนในเรื่อง สไตล์ ค่านิยม และแรงจูงใจ
4. เข้าใจว่าสิ่งที่เขาเปลี่ยนได้คือตัวเขาเอง ไม่ใช่เปลี่ยนคนอื่น
5. เลือกจัดการในสิ่งที่ตัวเราควบคุมได้ ไม่ทุกข์กับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
เราลองมาขยายความแต่ละข้อกันดูครับ
1. มีเป้าหมายชัดเจนว่าเขาต้องการอะไรในชีวิต ในระยะสั้น/กลาง/ยาว
หากเราไม่มีเป้าหมาย เราจะไม่อยากอดทนต่อทุกข์ในปัจจุบัน เพราะเราจะคิดว่า
“กําลังสบายเลย แต่ดันมาเจอคนไม่ดี ที่คิดและทําไม่เหมือนเรา เราจึงควบคุมอะไรไม่ได้เลย เราคือเหยื่อ”
ความคิดที่ว่าเราคือเหยื่อคือความคิดของคนสิ้นหวัง ซึ่งทําให้ทุกข์ใจมาก
หากเขามีเป้าหมาย และเป้าหมายนั้นชัดเจน เขาจะหาจุดเชื่อมโยงได้ว่า “สิ่งที่เขาทํานี้ จะส่งผลดีอย่างไร”
ในข้อถัดไป
2. เห็นว่าสิ่งที่เขาทําในวันนี้ ส่งผลดีต่อเป้าหมายในอนาคตอย่างไร
เช่น หากเขามีเป้าหมายจะทําธุรกิจส่วนตัวเล็ก ๆ ในห้าปีข้างหน้า การที่เขาต้องเจอกับหัวหน้าที่ไม่แฟร์ เอารัด
เอาเปรียบ ทําให้เขาต้องเรียนรู้ที่จะต่อรองคนที่เอาเปรียบสูง ๆ ให้ได้ ประโยชน์คือว่าในอนาคต หากเขาไปท
ธุรกิจส่วนตัวแล้ว เขาก็ต้องเจอกับคนแบบนี้อีกมากมาย เท่ากับว่า “ความทุกข์ใจที่เขากําลังเผชิญนี้คือ แบบ
ฝึกหัดสําหรับเป้าหมายในอนาคตต่างหาก” เขาก็จะรู้สึกเห็นคุณค่าของปัญหาในวันนี้ขึ้นมาทันที
3. ยอมรับความแตกต่างของคนในเรื่อง สไตล์ ค่านิยม แรงจูงใจ
คนที่มีเป้าหมายชัดเจนและต้องการเติบโตตระหนักดีว่า มนุษย์แต่ละคนต่างกัน ยิ่งเราเติบโตขึ้นไป เรายิ่งต้อง
พบเจอคนที่แตกต่างกันมากขึ้น
หากเรายึดอัตตาต้องการพบแต่คนที่คิดและทําแบบเราทุกอย่าง เราจะไม่มีความสุข เพราะไม่มีใครเหมือนเรา
ทุกอย่าง และเราก็คงเติบโตลําบากทั้งวุฒิภาวะและความก้าวหน้าในงาน
4. เข้าใจว่าสิ่งที่เขาเปลี่ยนได้คือตัวเขาเอง ไม่ใช่เปลี่ยนคนอื่น
คนที่พยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นไประยะหนึ่ง แล้วก็จะพบว่า
“ตัวเราเองอยากเปลี่ยนแปลงตั้งหลายอย่างเรายังบังคับตัวเองไม่ได้ทุกอย่างเลย”
ดังนั้นการที่ไปคาดหวังให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ที่เราพอทําได้คือ พยายามเข้าใจคนอื่น แล้วโน้มน้าวสิ่งที่เราต้องการสื่อสารให้ถูกจริตและแรงจูงใจของเขา
5. เลือกจัดการในสิ่งที่ตัวเราควบคุมได้ ไม่ทุกข์กับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
เมื่อเราคิดว่าเราควบคุมอะไรได้บ้าง เราจะมีหวัง
เมื่อเราคิดว่า เราควบคุมอะไรไม่ได้เลย เราจะหมดหวัง
แต่เราต้องตระหนักว่า “สิ่งที่เราควบคุมได้นั้นมีวงแคบ” อย่าคาดหวังเกินความเป็นจริง
โดยเฉพาะการที่เราคิดว่า เรามีตําแหน่ง มีอํานาจ แล้วเราจะควบคุมคนอื่นได้
การมีตําแหน่งและอํานาจ มันช่วยให้คุณโน้นน้าวคนอื่นได้อย่างเป็นทางการเท่านั้นเอง
แทนที่จะไปคิดควบคุมคนอื่น ให้เรามองทุกคนเป็นพันธมิตร ที่เราจะต้องไปโน้มน้าวให้เขาเห็นเหมือนเรา
หากเราโน้มน้าวเขาไม่ได้ ก็ค่อยมาคิดต่อว่าจะทําอย่างไรต่อไป ไม่ใช่ดันทุรังและพยายามดื้อเอาชนะ
ขอบคุณที่มา : เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
Categories
Hashtags